สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440

สนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างสยามและญี่ปุ่น พ.ศ. 2440[1] (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation between Siam and Japan) เป็นสนธิสัญญาที่ตกลงกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440[1] (พ.ศ. 2441 หากนับแบบปัจจุบัน) ระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นยุคเมจิในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ โดยมีนายอินางากิ มันจิโร (Inagaki Manjirō, 稲垣 満次郎) อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงสยามเป็นผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น และสยามอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงเป็นผู้แทนฝ่ายสยาม ในสนธิสัญญานี้ ทั้งญี่ปุ่นและสยามต่างให้การรับรองสถานะ "ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง" (Most Favoured Nation)[2] ซึ่งกันและกัน สยามมอบสิทธิทางการค้าภาษีสินค้าขาเข้าในระดับต่ำ และมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritoriality) ให้แก่ญี่ปุ่น ดังที่สยามได้มอบให้แก่ชาติตะวันตกอื่นๆก่อนหน้าสนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 นี้ เป็นก้าวสำคัญในการเจรจายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของสยาม เนื่องจากสนธิสัญญานี้เป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ที่ได้มีการกำหนดเวลาการสิ้นสุดของสนธิสัญญา ในขณะที่สนธิสัญญาไม่เป็นธรรม (Unequal Treaties) อื่น ๆ ที่สยามได้ทำกับชาติตะวันตกก่อนหน้านี้นั้น ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสนธิสัญญา

สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440